เคยมั้ย?
เวลาอ่านหนังสือ อ่านนิยาย
หรือบทความสักเรื่องแล้วเกิดความรู้สึก
ว้าว!
อยากจะเขียนได้อย่างนั้นบ้างจัง
และในใจก็จะมีคำถามเกิดขึ้นให้ชวนกังวลในหัว
“ฉันอยากเป็นนักเขียนบ้างจัง”
“จะทำยังไงนะ”
“จะมีใครอ่านบ้างหรือเปล่า”
ในตอนนั้นอารมณ์ของผู้เขียนก็จะเป็นประมาณนี้ล่ะค่ะ
เนื้อหาเล่มนี้ก็เลยอยากจะ
แชร์สิ่งที่ตนได้ทำและในที่สุดก็สามารถเขียน “สลับอุบัติรัก”จบเป็นเรื่องแรก
มาดูกันว่าก่อนที่จะเริ่มเขียนนั้นจะเราต้องทำอะไรบ้าง
คำนำ
เคยมั้ย?
เวลาอ่านหนังสือ อ่านนิยาย
หรือบทความสักเรื่องแล้วเกิดความรู้สึก
ว้าว!
อยากจะเขียนได้อย่างนั้นบ้างจัง
และในใจก็จะมีคำถามเกิดขึ้นให้ชวนกังวลในหัว
“ฉันอยากเป็นนักเขียนบ้างจัง”
“จะทำยังไงนะ”
“จะมีใครอ่านบ้างหรือเปล่า”
ในตอนนั้นอารมณ์ของผู้เขียนก็จะเป็นประมาณนี้ล่ะค่ะ
เนื้อหาเล่มนี้ก็เลยอยากจะ
แชร์สิ่งที่ตนได้ทำและในที่สุดก็สามารถเขียน “สลับอุบัติรัก”จบเป็นเรื่องแรก
มาดูกันว่าก่อนที่จะเริ่มเขียนนั้นจะต้องทำอะไรบ้าง
1
อดทน
ความอดทน ข้อนี้เราคนเขียนต้องอึดสักหน่อย ซึ่งคนเขียนต้องใจเย็นและมีความอดทนมาก เพราะกว่าจะเขียนจบเป็นเรื่องได้นี่ต้องขยันมาก
ยิ่งเขียนอะไรยาว ๆ อย่างนิยาย นวนิยาย ซึ่งต้องเขียนหลายหน้า เขียนหลายตอน นานมากกว่าจะเขียนจบสักเรื่อง
ฮึ๊บ!
2
Contenes
คอนเทนต์ “ฉันจะเขียนอะไรดีนะ”
แน่นอนว่าอาการนี้เป็นกันแทบทุกคนค่ะ เอาเป็นว่าอยากเขียนอะไรก็เขียนไปก่อน นึกอะไรออกก็จดไว้ หรืออยากจะระบายก็เขียนระบายลงใปในกระดาษทำเหมือนเราเขียนไดอารี่
ช่วงนี้ฉันไปดูหนังเรื่องนั้นเรื่องนี้ เพลงแนวนี้ที่ฉันชอบ ดารานักร้องคนนี้วงนี้ที่ฉันกรี๊ด
วันนี้ฉันไปดูคอนเสิร์ตด้วยล่ะ ก็เขียนๆเก็บไว้ นี่ไงคุณรู้ตัวมั้ยว่าจุดเริ่มต้นของการเป็นนักเขียนของคุณได้เริ่มแล้วล่ะคะ
ที่สำคัญนะ ในสิ่งที่คุณเขียน ๆ จด ๆ นั้นอาจจะมีสักอย่างที่ทำให้มีไอเดียบรรเจิดเกิดขึ้น
เป็นเรื่องราวจนนำไปสู่การเขียนนิยายได้ ส่วนเรื่องแนวเขียนอยากจะเขียนสไตล์แบบไหนก็จดเป็นรายการไว้ค่ะ
เช่น จะเขียนบทความสักเรื่องเริ่มจากอะไรดีละ
อย่างผู้เขียนที่เขียนครั้งแรกก็จะเริ่มจากสิ่งที่ชอบ และงานที่ทำ
(ซึ่งคุณอาจจะมีสิ่งนั้นอยู่แล้วแต่อาจไม่รู้ตัว) เขียนคำคม เขียนบทกลอน นิทาน แล้วค่อยขยับเป็นการเขียนอะไรยาวอย่างการเขียนนิยาย ก็ลองเขียน ๆ ไปค่ะ อาจจะเจอที่ถนัดหรืออยากจะทำอยากจะเขียน
3
ศึกษาขั้นตอนการเขียน
อย่างเช่นผู้เขียนรู้แล้วว่าสนใจที่จะเขียนอะไรก็จะค้นหาด้วยกูเกิลนี่ละค่ะ
ศึกษาหาข้อมูลขั้นตอนการเขียนซึ่งก็มีข้อมูลจากหลาย ๆ แหล่งนำมาประกอบกัน จะเขียนบทความก็ดูว่าบทความมีกี่ประเภท จะเขียนแนวไหนได้บ้าง
จะเขียนนิทานก็ต้องศึกษาวิธีการเขียนการเล่าเรื่อง การบรรยายภาพ ผู้เขียนก็เริ่มจดรายละเอียดไปตามแต่ละข้อตามขั้นตอนของงานนั้นๆค่ะ
แล้วจึงจะเริ่มเขียน
4
ขยันและมีวินัย
เราต้องมีวินัยในการเขียนค่ะ ว่าด้วยเรื่องของการเขียนนิยาย
นั่นคือในแต่ละวันเราจะต้องเขียนให้ได้กี่หน้า แต่คงมีบ้างล่ะที่คิดไม่ออกคราวนี้จะทำยังไง
สมองตื้อๆ วันนี้คงเขียนไม่ได้แน่ อาการแบบนี้จะทำไง เลยนั่งอ่านที่เขียนไปแล้ว อ่าน
ๆ ไปก็เกิดสะดุดอยากจะแก้ไขก็มีนะคะ (บางทีก็มีที่ไม่แวบขึ้นมาเลย หรือเกิดป่วย
อันนี้ก็คงต้องพัก เพราะเขียนต่อคงไม่ได้จริง ๆ)
5
หาความรู้เพิ่ม
ข้อมูลถือเป็นสิ่งสำคัญที่เราจะต้องนำมาเป็นคลังให้เราค่ะ
ความรู้มีอยู่ทั่วไปอยู่แล้ว และที่สำคัญเราต้องกลั่นกรองข้อมูลนั้น ๆ ด้วยนะคะ อย่างการเขียนเล่มนี้ขึ้นมา
ผู้เขียนก็นำข้อมูลที่ได้ทำการค้นหาค้นคว้าวิธีการที่จะนำสิ่งที่มีอยู่ในสมองออกมาเป็นการเขียนเพื่อแบ่งปัน
และแน่นอนว่ายังมีอะไรอีกหลาย ๆ อย่างที่จะนำเราพัฒนาการเขียนได้
โดยการฝึกเขียนบ่อย ๆ หาความรู้ข้อมูลอื่น ๆ เพิ่ม อย่าหยุดที่จะเรียนรู้ค่ะ
6
สะกดคำ
สะกดให้ถูก นั่นคือภาษา เรื่องของการใช้ภาษานี่ก็สำคัญมาก ๆ
เราจะเขียนหนังสือก็ต้องเริ่มฝึกเขียนให้ถูกพิมพ์ให้ถูกค่ะ ภาษาไม่เก่ง
สำนวนก็ไม่ได้ กลัวสารพัด เราต้องเลิกกลัวให้ได้ก่อน
เพราะถ้ากลัวก็ไม่ได้เขียนสักที เขียนให้ถูกสะกดให้ถูกก่อน
ค่อยไปเกลาสำนวนอีกทีก็ได้
ถ้าไม่แน่ใจว่าสะกดถูกหรือไม่ก็หาพจนานุกรมไทยมาไว้สักเล่มเพื่อตรวจความถูกต้องได้ค่ะ
ในบางเว็บไซต์ที่เป็นร้านอีบุ๊กออนไลน์จะมีระบบบริการตรวจคำให้ด้วยค่ะ
หรืออาจจะเข้าไปที่เว็บไซต์ของสำนักงานราชบัณฑิตยสภา
(Office
of the Royal Society) ซึ่งจะมีเรื่องเกี่ยวกับหลักการใช้ภาษาไทยด้วยค่ะ
เช่น
การใช้เครื่องหมายวรรคตอนต่าง ๆ หรือคำทับศัพท์ภาษาอังกฤษ เป็นต้น
ว่าด้วยเรื่องการสะกดคำให้ถูก
ผู้เขียนซึ่งยังอยู่ในขั้นฝึกเขียนก็จะมีผิดอยู่บ้าง หรือที่เรียกว่า “หลุด” ค่ะ อย่างไรก็จะพยายามใช้คำให้ถูกต้องค่ะ
7
พิมพ์ไม่ได้ก็ต้องฝึก
ฝึกพิมพ์ดีด ครั้นตอนเขียนด้วยลายมือร่างไว้ก่อนเรียบร้อย
แต่พอจะต้องใช้คอมพิวเตอร์พิมพ์งาน หากพิมพ์ไม่คล่อง
พิมพ์แต่ละครั้งยังต้องมองแป้นอยู่ อาจทำให้ถอนหายใจดังเฮือก
รู้สึกท้อขึ้นมาซะอย่างนั้น พิมพ์ไม่เร็วพิมพ์สัมผัสไม่ได้ก็ไม่ใช่ปัญหาค่ะ เราก็ต้องฝึกค่ะอย่างน้อย
ๆ ต้องจำให้ได้ว่าอักษรแต่ละตัวอยู่ที่แป้นใด เมื่อจำตัวอักษรบนแป้นได้
ฝึกพิมพ์บ่อย ๆ ก็จะพิมพ์ได้ดีขึ้น (สารภาพว่าผู้เขียนเองก็พิมพ์สัมผัสไม่ได้
ตายังคงมองแป้นอยู่เลยค่ะ ก็ไม่เป็นปัญหาเพราะพิมพ์บ่อย ๆ จำได้ว่าตัวอักษรอยู่ไหน
ก็พิมพ์ได้จนจบค่ะ
พยายามเข้าไว้ สู้ๆ ! )
8
เขียนจบทำอะไรต่อ
เขียนจบ แต่ยังไม่จบนะคะ
เพราะอย่าลืมตรวจคำแก้คำผิด (ขั้นตอนนี้ต้องใจเย็น ๆ นะคะ)
บางครั้งก็อาจจะมีรีไรท์ (Rewrite) บ้าง
บางถ้อยคำบางสำนวนเราอาจจะรู้สึกไม่พอใจก็แก้ไขไปปรับจนกว่าจะเข้าที่ค่ะ
9
ปก
หนังสือทุกเล่มก็ต้องมีปกใช่มั้ย
สิ่งที่จะดึงดูดสายตาของนักอ่านได้นั้น ไม่ว่าจะเป็นชื่อเรื่อง ภาพประกอบสีสันของปก เราต้องทำให้น่าสนใจเข้าไว้ วาดภาพไม่ได้ทำอย่างไร
ก็อาจจะไปจ้างฟรีแลนซ์หรือมีเพื่อนถนัดทางนี้ก็คุยกันไปค่ะ
หรือบางเว็บตัวแทนอาจมีการจัดทำให้ อันนี้ก็ต้องศึกษาข้อมูลนะคะ (ส่วนผู้เขียนทำเองทุกอย่างค่ะ
ออกแบบปกก็ไม่สวยเท่านักวาดมืออาชีพ แต่ก็อยากทำเองค่ะ)
10
จะปล่อยผลงานที่ไหน
หาที่ปล่อยผลงาน เมื่อต้นฉบับเสร็จเรียบร้อยก็ถึงเวลาเผยแพร่ผลงานแล้ว
สมัยนี้ยุคนี้มีหลายแบบเลยนะคะ
เราอาจจะสร้างเพจหรือบล็อกให้คนมาติดตามแล้วจะเข้ากลุ่มหรือเปิดกลุ่มในเฟซบุ๊กก็ว่าไป
ใครใคร่อยากหารายได้ จะขายด้วยตัวเองก็ได้ หรืออาจจะทำเป็น
E-Book ส่งขายตามเว็บตัวแทนก็ได้ค่ะ
อย่างหลังนี่ต้องศึกษากติกาของเว็บก่อนนะคะ ส่วนเรื่องรายได้นั้น
อาจจะรุ่งหรืออาจจะเรื่อย ๆ มาเรียง ๆ หรือไม่ขยับเลย
อันนี้ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่างค่ะ
เราจะทำการตลาดอย่างไรโปรโมตงานเราอย่างไรนั้นก็มีส่วนสำคัญนะคะ
แต่ถ้ารายได้ไม่ขยับก็อย่าเพิ่งท้อนะคะ
เขียนไปเรื่อย ๆ ค่ะ เรามาเป็นกำลังใจให้กันและกันนะคะ
ลองถามใจตัวดูว่าอยากเป็นนักเขียนหรือเปล่า
จะทำจริงจังหรือคั่นเวลาก็ว่ากันไปค่ะ...
ส่วนผู้เขียนมีความรู้สึก
ว้าว! ฉันทำได้แล้ว
เมื่อเขียนนิยายเรื่องแรกจบ จนเข้าสู่กระบวนการเผยแพร่ ส่วนเรื่องคนอ่านนั้นก็ต้องรอดูกันต่อไป
ผู้เขียนรู้เพียงแต่ว่าเมื่อโลกแห่งการออนไลน์ ซึ่งเป็นประตูที่เปิดรออยู่แล้ว ก็เหลือเพียงเรา...พร้อมที่จะย่างก้าวเข้าไปสู่การเป็นนักเขียนหรือยัง.